ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาสังคมไทย

ปัญหาสังคม


ความหมายปัญหาสังคม
มีผู้รู้ให้ความหมายไว้มากมาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวไว้เพียงห้าความหมายพอเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ท่านแรกคือ Goid Garry and Frand R. Scarpitti กล่าวว่าปัญหาสังคม คือ สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนมองเห็นว่าสภาวะการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทำร่วมกัน
Horton และ Lrslie ให้ความหมายไว้ว่าปัญหาสังคมเป็นสภาวะการณ์ที่มีผลต่อคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่าจะต้องร่วมกันแก้ไข
Raab และ Selznick เสนอสรุปได้ว่า ปัญหาสังคมคือปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมในลักษณะที่ขัดต่อระเบียบของสังคม
Konig ให้ความหมายว่าปัญหาสังคมคือสถานการณ์ที่สังคมเห็นว่าเป็นการคุกคามวิถีทางที่ปฏิบัติอยู่หรือความสมบรูณ์ของงาน ด้วยเหตุนี้จึงควรจะกำจัดให้หมดสิ้นหรือให้เบาบางลง
ดร.ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเข้าใจกันหรือเชื่อกันว่าสถานการณ์เช่นนั้นเป็นอันตรายต่อคุณธรรมของปัญหาและต้องการหาทางแก้ไขสถานการณ์นั้นให้ดีขึ้นด้วยการร่วมมือทางสังคม


เพิ่มวิดีโอ
ลักษณะปัญหาสังคม จากความหมายข้างต้นนั้น พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
1. เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2. เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3. ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
4. ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”
5. ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังึมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6. บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกัยย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยขน์แก่ตัวเองมากที่สุด

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆ ไป
จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรกฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปสาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
· การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
· ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
· พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม
· การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความเห็นของ Davis เขากล่าวว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในการจัดระเบียบโครงสร้างหน้าที่ของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม คือ ในกลุ่มหรือองค์การทางสังคมแต่ละกลุ่ม องค์การทาทสังคมหรือโครงสร้างของสังคมเลยนั้น คือ เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มทั้งสังคมเลยที่เดียว ดังนั้นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
2. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
3. การเพิ่มประชากร
4. การอพยพ
5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
6. การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
7. การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคมกับปัญหาสังคม


ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญมี 5 ประการด้วยกันคือ
1. ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
2. ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
3. หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
4. ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
5. ความขัดแย้งระหว่างกฏเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏบัติตาม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคมกับปัญหาสังคม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้เสพติดให้โทษ
การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการด้วยกันที่สำคัญมีดังนี้
1. ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor)
2. ปัจจัยทางจิต(Mental factor)
3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Factor)
4. ปัจจัยค่านิยมทางสังคม(Social Value)
5. ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม(social structure facdtor)
6. การศึกษาปัญหาสังคมในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคมนั้นมีวิชาการหลายแขนงที่กล่าวถึงและนักวิชาการในแขนงนั้น ๆ ได้ทำการศึกษารปัญหาสังคม ตามทัศนะของเขาดังเช่น
วิชาจิตวิทยา จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในแง่จิตวิเคราะห์เป็นสำคัญ
วิชามานุษยวิทยา ศึกษาปัญหาสังคมโดยการวิเคราะห์ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม
วิชาชีวิทยา นักชีววิทยา เห็นว่าองค์ประกอบทางชีววิทยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม มี 2 ประการคือ พันธุกรรม กับสิ่งแวดล้อม
วิชาสังคมวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาปัญหาสังคมโดยมองความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม

แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

การศึกษาปัญหาสังคมนอกจากจะอาศัยวิทยาการหลาย ๆ สาขาแล้วเพื่อจะได้มองปัญหาสังคมหลายด้านว่ามีสาเหตุจากอะไร เพื่อจะได้นำเอาไปใช้วางแนวทางการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างถูกต้องดังกล่างแล้ว หลักสำคัญประการหนึ่งคือ วิธีในการศึกษาปัญหานั้น จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด
วิธีการศึกษาค้นคว้าวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นแยกออกเป็นขั้นตอนดังนี้
· กำหนดปัญหาที่ต้องการพิสูจน์
· ตั้งข้อสมมติฐานความเป็นเหตุเป็นผลของปัญหา
· รวบรวมข้อมูล
· วิเคราะห์ข้อมูล
· สรุปและเสนอรายงาน

การแก้ไขปัญหาสังคม

การแก้ไขปัญหาสังคม หมายถึงการจัดการกับปัญหาสังคมเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เช่น เกิดความยากจนเกิดปัญหาความยากจนขึ้นมาแล้ว จึงดำเนินการแก้ไข ฯลฯ จึงดำเนินการแก้ไขตัวอย่าง เช่น เมื่อเกิดปัญหาว่างงานก็จะแก้โดยการสร้างงานมากขึ้น เพื่อคนจะได้มีงานทำ


ขอขอบคุณ : ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


เข้าถึงได้จาก : http://isc.ru.ac.th/data/PS0003700.doc

1 ความคิดเห็น:

  1. ถือว่าเป็นบทความที่ดีค่ะ
    เนื้อหาของบทความกล่าวถึงปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันปัญหานี้
    เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบร้ายแรงในกลุ่มผู้ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่
    แสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างชัดเจน
    แต่เนื่องจากปัญหามีผลต่อกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม ทำให้การแก้ปัญหาและรับมือกับปัญหายังไม่ครอบคลุมเพีบงพอ

    ดังนั้นทั้งหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหานี้
    ให้การค้ามนุษย์หมดไปจากหมู่บ้าน ชุมชน และสังคมในภายภาคหน้า

    ตอบลบ